หน้าหลัก > ช่องวิดีโอ > นวดไทยราชสำนัก กับ CEEC
นวดไทยราชสำนัก กับ CEEC

admin eecskm
2020-06-09 15:00:57

 การนวดแบบราชสำนัก 


หมอจะคลำชีพจรที่ข้อมือ และหลังเท้าข้างเดียวกัน (ขวาหรือซ้าย) เพื่อตรวจดูอาการของโรค โดยพิจารณา จากการเต้นของชีพจรทั้งสองแห่ง ที่เรียกว่า "ลมเบื้องสูงและลมเบื้องต่ำ" เสียก่อน ว่าเสมอกันหรือไม่ แล้วจึงเริ่มทำการนวด ซึ่งอาจจะคล้ายคลึง กับการนวดแบบทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่ตำแหน่ง ในการวางมือ องศาที่แขนขาของหมอนวดทำกับตัวของผู้ป่วย และท่าทางของหมอนวด ซึ่งแบบราชสำนัก จะเน้นความสุภาพอย่างมาก ความสามารถในการรักษา นอกจากจะนวด เพื่อแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ โรคกระดูก โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต ยังสามารถรักษาข้อหลุด ที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ด้วย

ข้อแตกต่างที่สำคัญ ระหว่างการนวดแบบทั่วไปกับการนวดแบบราชสำนัก

1. หมอนวดแบบราชสำนัก ต้องมีกิริยามารยาทเรียบร้อย เดินเข่าเข้าหาผู้ป่วย ขณะทำการนวด ต้องไม่ก้มหน้าหายใจรดผู้ป่วย หรือเงยหน้าจนเป็นการไม่เคารพ ส่วนหมอนวดแบบทั่วไป มิได้เพ่งเล็งถึงเรื่องเหล่านี้ แต่มีลักษณะการนวด เป็นกันเองกับผู้ป่วยมากกว่า บางคราวจึงอาจไม่สำรวม หรือระวังตัวมากนัก

2. การนวดแบบราชสำนัก จะไม่เริ่มนวดฝ่าเท้า นอกจากจำเป็นจริงๆ มักเริ่มต้นนวด ตั้งแต่หลังเท้าขึ้นไป ส่วนหมอนวดแบบทั่วไป จะเริ่มนวดที่ฝ่าเท้า

3. การนวดแบบราชสำนัก จะใช้เฉพาะมือ นิ้วหัวแม่มือ และปลายนิ้วอื่นๆ ในการนวดเท่านั้น และไม่ใช้การนวดคลึง ในขณะกด (นวด) แขนจะต้องเหยียดตรงเสมอ เพื่อน้ำหนักจะได้ลงที่หัวแม่มือ ส่วนหมอนวดแบบทั่วไป มิได้คำนึงถึงท่าทางของแขน ว่าจะตรง หรืองอ

4. การนวดแบบราชสำนัก ไม่ใช้การดัด หรือการงอข้อ หลัง หรือส่วนใดของร่างกาย ด้วยกำลังแรง จะไม่มีการนวด โดยให้เข่า ข้อศอก ฯลฯ

5. การนวดแบบราชสำนัก ต้องการให้เกิดผลต่ออวัยวะ และเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกๆ โดยการเพิ่มการไหลเวียน ของเลือด และการเพิ่มการทำงานของเส้นประสาท

มารู้จักกับ 3 ท่านวดแบบราชสำนัก ที่จะช่วยรักษาอาการปวดต่าง ๆ

1. ท่านวดศรีษะ  นวดบริเวณขมับ เหนือใบหู ท้ายทอย และลำคอ จบด้วยการนวดให้ทั่วบริเวณศรีษะ การนวดบริเวณศรีษะจะกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตของศรีษะ ลดอาการเกร็ง ลดความเครียด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบนใบหน้าและลำคอ

2. ท่านวดกดต้นคอ  ผู้นวดใช้นิ้วกดลงบนไหล่ข้างลำคอ  กดลงด้วยความแรงพอสมควรแล้วยกขึ้น ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง  ท่านี้จะช่วยลดการปวดเมื่อยบริเวณไหล่และลำคอ ช่วยให้กล้ามเนื้อหลังหายปวดเมื่อยและมีความยืดหยุ่น

3. การนวดไหล่และท่อนแขน  ผู้นวดยืนข้างลำตัว ผู้ถูกนวดยกแขนตั้งฉากในระดับหัวไหล่ ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบริเวณไหล่ด้านหลัง  โดยเริ่มกดจากเบาๆ แล้วค่อยเพิ่มแรงกดขึ้นสลับไปมา การนวดไหล่และท่อนแขนจะช่วยลดการปวดเมื่อยบริเวณบ่า  ลดอาการเคล็ดขัดยอกและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต  ปรับสมดุลย์ของฮอร์โมนกระตุ้นระบบต่างๆ ให้ดีขึ้น