การนวดไทยสายราชสำนัก
ตอนที่ 1 : ทฤษฎีนวดไทยและหลักการแต่งรสมือ
กายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยาหัตถเวชแผนไทยแบบราชสำนัก
1. ระบบผิวหนัง (ตโจ) ผลของการนวดทำให้การไหลเวียนของเลือดที่ผิวหนังดีขึ้น กระตุ้นการขับเหงื่อและไขมัน ทำให้เลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น
2. ระบบกล้ามเนื้อ (มังสัง) ผลของการนวด เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อลาย ทำให้ลดการคั่งค้างของกรดแลคติก เพิ่มการไหลเวียนเลือดและส่งผลให้อาการเมื่อยหายไป
3. ระบบกระดูก (อัฐิ) และข้อต่อ (ลสิกา) ผลของการนวดช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ทำให้กระดูกหักติดกันได้เร็วและดีขึ้น ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
4. ระบบไหลเวียนเลือด (โลหิตัง) การนวดมีผลโดยตรงทำให้เลือดคลายตัวและหดตัวได้ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ข้อควรระวัง การเปิดประตูลม ไม่ควรกดนานเกินกว่า 45 วินาที เพราะอาจทำให้เกิดอาการชาได้เนื่องจากเส้นประสาทขาดเลือดไปเลี้ยง
5. ระบบประสาท (มัตถเกมัตถลุงคัง) ผลของการนวด เกิดโดยอ้อม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาทเกินปฏิกิริยาโต้ตอบ และควบคุมการหลั่งสารสื่อประสารทภายในร่างกาย ทำให้เกิดความรู้สึกผาสุกในรูปแบบของการผ่อนคลาย
6. ระบบย่อยอาหาร (อุทริยังและกรีสัง) ช่วยแก้อาการท้องอืด ลมในท้องมากได้ และยังช่วยแก้อาการท้องผูกในกรณีผู้ที่เป็นเถาดานพรรดึก
หลักการแต่งรสมือ
การแต่งรสมือ คือ การปรุงแต่งวิธีการนวดให้เหมาะสมกับโรคและลักษณะคนไข้เป็นราย ๆ ไป โดยแต่ละจุดที่นวดนั้นจะต้องมีสมาธิ หน่วง เน้น นิ่ง และใช้หลักการแต่งรสมือ 2 อย่าง
1. การกำหนดองศา มาตราส่วน ซึ่งเป็นการควบคุมทิศแรงและน้ำหนักแรง แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ น้ำหนักขนาดเบา น้ำหนักขนาดปานกลาง น้ำหนักขนาดหนัก
2. คาบ คือ
ระยะเวลาที่กดนวดในแต่ละจุด แบ่งออกเป็น
คาบน้อยและคาบใหญ่
– คาบน้อย คือ
การกำหนดลมหายใจให้มีระยะเวลาในการกดสั้น
(10-15 วินาที)
โดยมากจะใช้กับการนวดแนวเส้นพื้นฐาน
– คาบใหญ่ คือ
การกำหนดลมหายใจให้มีระยะเวลาในการกดนาน
(30-45 วินาที)
โดยมากจะใช้ในการเปิดประตูลมและการนวดบังคับจุดสัญญาณ
ติดตามข่าวสารได้ที่
Fanpage facebook : ศูนย์แห่งความเป็นเลิศในการดูแลผู้สูงอายุ มร.สส.
Website : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
: ศูนย์แห่งความเป็นเลิศในการดูแลผู้สูงอายุ