วันเข้าพรรษา
"เข้าพรรษา" หมายถึง
พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ
วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน
โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์
และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง
ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน
ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ
จนเสียหาย
พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด
3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1
ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8
สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ
เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 11
เว้นแต่มีกิจธุระจำเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น
ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้
คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ
หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์
แห่งการจำพรรษา
จัดว่าพรรษาขาด
ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา
หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร
แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม
ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้
จึงช่วยกันปลูกเพิง
เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ
องค์ ที่พักดังกล่าวนี้ เรียกว่า
"วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์
เมื่อหมดแล้ว
พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่าน
ครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี
แต่บางท่านอยู่ประจำเลย
บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก
สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม"
ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้
โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น
มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร
สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ
และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้
บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา
ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน
และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา
การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน
พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น
ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่
ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร
ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ
มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด
3 เดือน
ช่องทางการติดต่อสถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย
แสกน QR-Code : Line Official CEEC Service |
โทร 034-766-475-7 |
inbox : m.me/ceec.Ceec Ssru | |
ติดตามข่าวสารได้ที่
Fanpage facebook : สถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย มร.สส.
Website : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
: สถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย