นอกจากการก้มยกของหนัก
ใส่รองเท้าส้นสูง และยืนนาน ๆ
ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังแล้ว
ยังมีท่านั่งที่ส่งผลต่อหลังของเราที่ใครหลาย
ๆ คนอาจจะมีพฤติกรรมนี้อยู่
เรามาดูกันเลยครับ
[1]
นั่งไขว่ห้าง
คิดว่าหลายคนน่าจะทราบกันดีกว่า
ท่านั่งไขว่ห้างอาจทำให้เราดูบุคลิกดี
แต่เมื่อเราลงน้ำหนักไปที่ขาและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง
บวกกับโลหิตบริเวณขาไหลเวียนได้ไม่ค่อนดี
นอกจากจะเมื่อยหนักกว่าแล้ว
ยังทำให้กล้ามเนื้อสะโพก เอว หลัง
ยาวไปถึงหลังศีรษะผิดรูป
กล้ามเนื้อข้างกระดูกไม่สมดุล
กระดูกชายโครงเกร็งรั้ง
และอาจทำให้กระดูกสันหลังคดงอ
เส้นประสาททำงานผิดปกติ
จนไปถึงหมอนรองกระดูกเสื่อม
หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
ที่โรคยอดฮิตของชาวออฟฟิศได้
[2] นั่งหลังค่อม
พุงแอ่น
นอกจากบุคลิกจะไม่ดีแล้ว
การนั่งหลังค่อมยังทำให้กระดูกสันหลังงอ
ยิ่งถ้าอยู่ท่าเดิมไปนานๆ โดนไม่ขยับเลย
จะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง
เกิดอาการคั่งของกรดแล็คติค
จนมีอาการเมื่อยล้าตลอดเวลา
และกระดูกคดงอผิดรูปถาวรได้
[3]
นั่งเบาะไม่เต็มก้น
ลองสังเกตดูดีๆ
หลานคนนั่งแค่ครึ่งเบาะ หลังไม่พิงเบาะ
จึงเป็นเหตุให้หลังค่อมโดยไม่รู้ตัว
นอกจากนี้ยังทำให้กล้าเนื้อหลังทำงานหนักมากขึ้น
เพราะฐาน (ก้น)
รับรองน้ำหนักที่ได้ไม่เต็มที่
[4]
นั่งขัดสมาธิ
สาว ๆ
หลายคนชอบเอาขาขึ้นมานั่งขัดสมาธิบนเก้าอี้
การนั่งท่าขัดสมาธินานๆ
อาจทำให้เป็นเหน็บชา
เนื่องจากโลหิตไหวเวียนได้ไม่สะดวก
และใครที่มีความเสี่ยง เช่น
น้ำหนักตัวเยอะ อายุมากขึ้น
หรือมีปัญหาเรื่องกระดูก
การนั่งขัดสมาธินานๆ
ยังอาจเป็นสาเหตุของอาการข้อเข่าเสื่อมได้
[5]
นั่งทับขาข้างใดข้างหนึ่ง
ยกขาขึ้นมา
แล้วเอาขาอีกข้างทับขา หรือเท้าของตัวเอง
ทำให้โลหิตไหลเวียนไม่สะดวกเหมือนท่านั่งอื่นๆ
นอกจากนี้ยังเสี่ยงอาการกระดูกสะโพก
และกระดูกสันหลังคดงอได้เหมือนกับท่านั่งไขว่ห้างเช่นเดียว
เพราะความไม่สมดุลขอขาทั้งสองข้างนั่นเอง
[6]
นั่งยกไหล่
หลายคนไม่ทันสังเกตตัวเองว่าเป็นคนที่นั่งยกไหล่อยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะคนที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา
สาเหตุที่ยกไหล่โดยที่ไม่รู้ตัว
เพราะตำแหน่งของเบาะเก้าอี้
และโต๊ะวางคอมพิวเตอร์ไม่สัมพันธ์กัน
อาจจะเบาะเก้าอี้ต่ำเกินไป
หรือโต๊ะอยู่สูงเกินไป
จึงทำให้เวลาพิมพ์งาน หรือใช้เม้าส์
ต้องยกไหล่ขึ้นมาเพื่อทำงานให้ถนัดมากยิ่งขึ้น
เป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่
และปวดหลังเรื้อรังได้
[7]
นั่งพิมพ์คอมที่วางบนตัก
หากมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คในขณะที่ไม่มีโต๊ะ
นานๆ ปวดหลัง ปวดคอ
แน่นอน
ที่มา : sanook / padula / npr
ช่องทางการติดต่อสถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย
แสกน QR-Code : Line Official CEEC Service |
โทร 034-766-475-7 หรือ 082-614-9735 |
inbox : m.me/ceec.Ceec Ssru | |
ติดตามข่าวสารได้ที่
Fanpage facebook : สถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย มร.สส.
Website : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
: สถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย