หน้าหลัก > ข่าว > สาระน่ารู้ > ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)
ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)

admin eecskm
2024-03-05 13:45:10


ข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder)

สาเหตุของภาวะข้อไหล่ติด

• ภาวะเอ็นข้อไหล่อักเสบ  มักเกิดในผู้สูงอายุเนื่องจากการใช้ข้อไหล่เป็นเวลานาน ทำให้เอ็นกล้ามเนื้อ ถุงน้ำเกิดความเสื่อม ฉีกขาดขึ้นได้หรือเกิดจากการเล่นกีฬาที่ต้องใช้กำลังแขนมากๆหรืออุบัติเหตุต่างๆ มักจะมีอาการปวดแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป กว่าจะรู้ตัวก็อาจก่อให้เกิดภาวะไหล่ติดได้

• ภาวะเยื่อหุ้มไหล่อักเสบ

มักเกิดในผู้สูงอายุเนื่องจากการใช้ข้อไหล่เป็นเวลานาน ทำให้เยื่อหุ้มไหล่เกิดการเสียดสี มีการฉีกขาดที่ละเล็กละน้อยหรือมีการฉีกขาดอย่างรุนแรง มักมีอาการเจ็บปวดรอบๆข้อไหล่เป็นบริเวณกว้างรอบๆข้อไหล่ ภาวะเยื่อหุ้มไหล่อักเสบมักมีจุดกดเจ็บเฉพาะที่ อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นในลักษณะที่เฉียบพลันหรือแบบค่อยๆเป็นค่อยๆไปซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะไหล่ติดได้

• ภาวะกลุ่มอาการปวดเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

เกิดได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงผู้สูงอายุโดยมีพังผืดเกิดในกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อบ่า กล้ามเนื้อสะบัก กล้ามเนื้อบริเวณไหล่ที่ทำให้เกิดการปวดร้าว มักมีอาการปวดแบบลึกๆอยู่ในกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวข้อไหล่ บางรายอาจรุนแรงทำให้กล้ามเนื้อดูเหมือนอ่อนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้และมีอาการปวดร้าวไปยังส่วนของแขนหรือมีอาการชาร่วมด้วย อาการเหล่านั้นทำให้เกิดการหดรั้ง จึงส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง

อาการข้อไหล่ติด

อาการของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่

• ระยะที่ 1 ระยะเจ็บปวด

อาการเจ็บปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาจมีอาการปวดแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมหรือปวดขณะทำการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆลดลง ระยะนี้มักปวดนาน 2 – 9 เดือน

• ระยะที่ 2 ระยะข้อยึด

อาการปวดของระยะแรกยังคงมีอยู่ แต่อาจจะลดลง การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงอย่างชัดเจน อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก โดยทั่วไประยะนี้อาจนาน 4 – 12 เดือน

• ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว

อาการปวดจะลดลง และการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆดีขึ้นในช่วง 5 เดือนถึง 2 ปี

• วิธีการรักษาภาวะข้อไหล่ติด

พบแพทย์และนักกายภาพบำบัด : หากมีอาการปวดและไม่สะดวกในการใช้งานข้อไหล่ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรับคำแนะนำในการรักษา บางครั้งนักกายภาพบำบัดอาจช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับข้อไหล่ให้แข็งแรงขึ้น

การฝึกซ้อมและเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง : การฝึกซ้อมและเคลื่อนไหวที่ถูกต้องสามารถช่วยลดการบาดเจ็บและความไม่สะดวกในการขยับข้อไหล่ได้ แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเคล็ดลับและการฝึกซ้อมที่เหมาะสม

การควบคุมอาการบาดเจ็บ : หากมีอาการบาดเจ็บที่ข้อไหล่ ควรหยุดใช้งานข้อไหล่และใช้วิธีการรักษาอาการบาดเจ็บที่เหมาะสม เช่น การประคบเย็นและการยืดเส้นเอ็น

การรักษาภาวะข้อไหล่ติดและการฟื้นฟูอาจใช้เวลาและความอดทน ดังนั้น ควรปรึกษาจากแพทย์และนักกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาวะข้อไหล่ติดได้รับการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม