หน้าหลัก > ข่าว > สาระน่ารู้ > แดชไดเอท (DASH diet) กินต้านโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง
แดชไดเอท (DASH diet) กินต้านโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง

admin eecskm
2024-07-12 13:57:48

อาจเป็นรูปภาพของ ‎ข้อความพูดว่า
"‎แดชไดเอท (DASH diet) Dietary
Approches to Stop Hypertension
กินต้านโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง לב
เน้นข้าว แป้งและธัญพืชไม่ขัดสี
บริโภคถัวเมล็ดแห้งบ
บริโภครั่วมจ็ดแห่งบริโภกคนมไขม
บริโภคนมไขมันต่ำ เน้นผึกและผักผลไม้
ธัญพืช ข้าว/ข้าวกล้อง 6-8 ทัพพี ขนมปัง6
6 แผ่น อาหารและเครื่องดื่มหวาน
อาหารแปรรูป ผงชูรส อาหารไขมันสูง
แอลกอฮอล์ น้ำตาล ลดเลี่ยงน้ำตาล
เครื่องดื่มรสหวาน ของหวาน
รับประทานให้น้อยที่สุด ไขมัน น้ำมันพีช
2-3 ซ้อนซาต่อวัน ปริมาณโซเดียมไม่เกิน
2300 มิลลิกรัมหรือเท่ากับ เกลือ ช้อนชา
ซูปก้อน ก้อน ซีอิ๋ว ช้อนโต๊ะ น้ำปลา 4
ช้อนชา ไข่เค็ม ฟอง บะหมี ซอง ผลไม้
แอปเปิ้ล 4-5 ผล ฝรั่ง ผล แตงโม 24
ชิ้น/ดำ เนื้อสัตว์ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน2
ฝ่ามือ ปลา ไก่ เปิด เต้าผู้ขาว
034-766477 ผลิตภัณฑ์นม
นมพร่องมันเนย/นมไขมันต่ แก้ว
โยเกิร์ตรสธรรมชาติ ถ้วย ผก แตงกวา 4-5
ลูก, ผักต้มสุก ผักใบเขียวสด 8 ทัพพิ O
elderly@ssru.ac.th ทัพพี f
สถาบันส่งเสริมและดับาสุนภาพสังค
มหาวิทยาลัยรานภัฏสวนสุนันทา‎"‎

แดชไดเอท (DASH diet) กินต้านโรคหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง

การรับประทานอาหารแบบ DASH DIET เป็นการรับประทานอาหารตามแนวทางโภชนาการ โดยเน้นการรับประทานอาหารร่วมกับการลดปริมาณโซเดียมและไขมันอิ่มตัว และเพิ่มการบริโภคใยอาหาร แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียมจากอาหาร เพื่อควบคุมความดันโลหิตและช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจ

หลักการรับประทานอาหารแบบ DASH DIET ได้แก่ 

* ข้าว แป้งและธัญพืชต่างๆที่ไม่ขัดสี 6-8 ส่วนบริโภคต่อวัน(หรือประมาณ 6-8 ทัพพีต่อวัน) เพื่อเพิ่มการรับประทานใยอาหารที่ช่วยการขับถ่ายและลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

* ผักหลากหลายชนิด อย่างน้อย 5 สี 4-5 ส่วนบริโภคต่อวัน(หรือประมาณ 4-5 ทัพพีต่อวัน)

* ผลไม้ 4-5 ส่วนบริโภคต่อวัน( 1 ส่วนของผลไม้มีขนาดไม่เท่ากัน แบ่งตามขนาด ดังนี้ ผลไม้ลูกเท่ากำปั้น 1 ลูก คือ 1 ส่วน ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ล สาลี่ , ผลไม้ที่เป็นชิ้นคำ 6-8 ชิ้นคำ คือ 1 ส่วน ได้แก่ สับปะรด แคนตาลูป แตงโม เป็นต้น) ควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้กระป๋องหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ

* เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 6 ส่วนบริโภคต่อวัน(หรือประมาณ 12 ช้อนกินข้าวต่อวัน) เลือกเนื้อสัตว์สีขาว เลี่ยงเนื้อสัตว์สีแดงและเนื้อแปรรูปต่างๆ

* ถั่วเมล็ดแห้งชนิดต่างๆ 4-5 ส่วนบริโภคต่อสัปดาห์ (หรือประมาณ 4-5 กำมือต่อสัปดาห์)

* นมและผลิตภัณฑ์จากนม เลือกชนิดที่ไขมันต่ำ 2-3 ส่วนบริโภคต่อวัน (2-3 แก้วต่อวัน)

* อาหารหวานชนิดต่างๆ ไม่เกิน 5 ส่วนบริโภคต่อสัปดาห์ (หรือน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน) แนะนำให้รับประทานนานๆครั้ง และสามารถใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในการปรุงประกอบอาหารได้บ้าง

* น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และเลือกรับประทานอาหารเมนูไขมันต่ำ

* แนะนำให้ใช้รสเปรี้ยว เครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ ในการเสริมรสชาติอาหารให้เด่นขึ้นแทนการใช้เกลือหรือเครื่องปรุงที่มีเกลือโซเดียมสูง

ที่มา : ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล