หน้าหลัก > ข่าว > สาระน่ารู้ > การดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาวตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
การดูแลสุขภาพในช่วงฤดูหนาวตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย

admin eecskm
2020-11-19 10:50:17



          การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอเป็นสิ่งที่ดี เพื่อป้องกันการเกิดโรค บรรเทาอาการของโรค ตลอดจนการมีชีวิตที่เป็นปกติสุข ทางการแพทย์แผนไทยถือว่า “การที่จะมีสุขภาพที่ดีได้ต้องประกอบกันทั้งสุขภาพกายและจิตใจ”

         ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว (เหมันตฤดู) นั้นการเจ็บป่วยในการแพทย์แผนไทยมันจะเป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากความเย็นเป็นที่ตั้ง มักจะส่งผลให้ธาตุน้ำในร่างการเปิดการแปรปรวนหรือเสียสมดุลได้ง่าย โรคที่มักเกิดในช่วยฤดูหนาวนั้นมักเป็นโรค หรืออาการ ที่เกี่ยวกับธาตุน้ำ เช่น หวัด น้ำมูกไหล ภูมิแพ้อากาศ ปอดบวม ผิวแห้ง หากติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำ จะทำให้อาการของโรครุนแรงมากยิ่งขึ้นและผลจากการแปรปรวนของธาตุน้ำ จะทำให้เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวกได้ เกิดอาการไอ จาม คัดจมูก ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่งผลต่อธาตุไฟในร่างกายเสียสมดุลไปด้วย เกิดอาการไข้ เจ็บคอหรือเกิดอาการอักเสบตามมา การสร้างเกราะป้องกันความเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นช่วงฤดูหนาว ควรเน้นการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรรสเปรี้ยว รสขม และรสเผ็ดร้อน เช่น พืชผัก ได้แก่ มะเขือเทศ ยอดมะกอก ยอดมะม่วงหิมพานต์ มะขามสด ยอดมะขาม ผักติ้ว ผักเม็ก ผักกระโดน ยอดกระเจี๊ยบแดง มะละกอ มะเขือขื่น มะอึก มะแว้ง มะเขือพวง ผักพาย สาหร่ายน้ำจืด สาหร่ายน้ำเค็ม ผักตบ แพงพวยน้ำ ผักแว่น ผักลิ้นปี่ แมงลัก สะระแหน่ ขมิ้นขาว ขมิ้นชัน ผักชีฝรั่ง ผักชีหอม ผักชีลาว โหระพา ผักตั้งโอ๋ ตะลิงปลิง ลูกมะกอกชะมวง มะรุม ผลไม้ ได้แก่ ส้มต่างๆ มะนาว มะเฟือง มะไฟ สับปะรด ลางสาด มะม่วงดิบ กระท้อน ระกำ มะยม มะเม่า

      นอกจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศแล้ว ยังมีโรคที่มากับลมหนาวตามนกที่ย้ายถิ่น หรือเกสรดอกไม้ที่ปลิวมา เช่น ไข้เปลี่ยนฤดู ไข้หวัดนก ไข้ดอกสัก แพ้อากาศ ผื่นคัน ลมพิษ เป็นต้น




ติดตามข่าวสารได้ที่

   Fanpage facebook : ศูนย์แห่งความเป็นเลิศในการดูแลผู้สูงอายุ มร.สส.

   Website                     : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

                                       : ศูนย์แห่งความเป็นเลิศในการดูแลผู้สูงอายุ

                                       : Center of Excellence in Elderly Care Services