อาการ Office Syndrom
สาเหตุ : มี 3 ประการหลัก ๆ ได้แก่
1. ท่าทางการทำงาน (Poster)
2. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากอิริยาบถเดิม ต่อเนื่องและเรื้อรัง
3. สิ่งแวดล้อม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน ระดับความสูงของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
อาการหลัก
1. อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Mtofascial Pain Syndrome) โดยส่วนมากจะปวดเฉพาะบริเวณ เช่น คอ บ่า สะบัก ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทอัตโนมัติร่วมด้วย เช่น วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชา เป็นต้น
2. การอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโค่นนิ้วโป้ง (De Quervain’s Disease) นิ้วล็อค (Trigger Finger)
3. การกดทับปลายประสาท ทำให้เกิดอาการชา รวมถึงอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ถ้าหากรุนแรง (Nerve Entrapment) เช่น พังผืดทบเส้นประสาทข้อมือ (Carpel Tunnel Syndrome) พังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก (Cubital Tunnel Syndrome)
อาการข้างเคียงอื่น ๆ
1. ตาพร่ามัว ความชัดเจนในการมองเห็นแย่ลง ตาแดง เคืองตา จากการใช้สายตามากเกินไป
2. อาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องเฟ้อ เนื่องจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ทำการเกิดลมอั้นในช่องท้องและลำไส้ได้
3. นอนไม่หลับ จากอาการปวดกล้ามเนื้อ หรืออาการร่วมอื่น ๆ
วิธีการรักษา
ทางสถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย มีแผนกสหคลินิก (แพทย์แผนไทยประยุกต์+กายภาพบำบัด) ตรวจ วินิจฉัย ประเมินและวางแผนการรักษาร่วมกันเป็นทีม
1. รักษาด้วยการคลายกล้ามเนื้อที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมากที่สุด โดยสามารถปรึกษากับทีมสหวิชาชีพของเรา
2. ปรับสภาพกล้ามเนื้อที่ใช้งานเป็นประจำที่ทำให้เกิดอาการปวดเฉพาะที่ ด้วยวิธีการนวดกดจุดรักษา
3. รักษาอาการอื่นร่วมด้วย หัตถการพิเศษ เช่น การเผายาหน้าท้องเพื่อกระจายกองลมที่อั้น หรือยาสมุนไพรอื่น ๆ เป็นต้น
ช่องทางการติดต่อสถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย
แสกน QR-Code : Line Official CEEC Service |
โทร 034-766-476-7 หรือ 095-959-4456 |
inbox : m.me/ceec.Ceec Ssru | |
ติดตามข่าวสารได้ที่
Fanpage facebook : สถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย มร.สส.
Website : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
: สถาบันส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพสังคมสูงวัย