6 เทคนิค การใช้ยาให้ปลอดภัยในผู้สูงอายุ
1.รู้จักตัวยา
ผู้สูงอายุที่ใช้ยาควรจะทราบว่าตนเองใช้ยา"ชื่อ"อะไร ขนาดยาเท่าไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ทั้งสี กลิ่น รส หากเกิดความผิดปกติจะได้รู้และระวังในการใช้
2.รู้จักวิธีใช้ยา
วิธีการบริหารยา (กิน ฉีด พ่ย ทา หรือ วิธีใช้อย่างไร) รวมถึงการจัดเก็บยา รู้ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
3.รู้ว่ายานั้นรักษาอาการอะไร มีผลอย่างไร
ในผู้สูงอายุบางท่านมีโรคหลายโรค จึงต้องรับประทานยาครั้งละหลายๆชนิด ซึ่งยาแต่ละชนิดจะใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆกัน ยาบางตัวมาใช้หวังผลอย่างหนึ่งแต่เกิดผลข้างเคียงอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยาเจริญอาหาร ที่ใช้แล้วหลายคนมีอาการบางแห้ง คอแห้ง มากขึ้นไปอีก ใช้บ่อยๆนานๆก็ไม่ดีต่อสุขภาพได้
4.อ่านสลาก ดูสภาพก่อนใช้ยา
เพื่อความถูกต้อง ทบทวนชื่อยาและวิธีการใช้ยา ดังนั้นก่อนการใช้ยาทุกครั้งต้องอ่านสลากยาเสมอ สังเกตลักษณะซอง ฉลากยา รวมถึงบรรจุภัณฑ์ควรอยู่ในสภาพที่ดี ไม่แตก ฉีก ขาด บุบสลาย ไม่เปื่อยยุ่ย
5.แจ้งแพทย์ทุกครั้ง
เมื่อผู้สูงวัยต้องไปพบแพทย์หรือเภสัชกรควรแจ้งให้ทราบทุกครั้งถึงยาประจำที่ท่านรับประทานอยู่ แจ้งให้หมด ทุกๆตัวยา รวมถึงวิตามินหรือยาบำรุงที่รับประทานอยู่ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการจ่ายยาที่ซ้ำซ้อน และตรวจสอบถึงปฏิกริยาของยาที่อาจเกิดได้หากรับร่วมกัน โดยเฉพาะรายที่รับประทานยาที่เสียงต่อการมีปฏิกิริยาซึ่งกันและกันเช่นยากลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดยาละลายลิ่มเลือด ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น
6.จดรายชื่อยาที่ใช้ประจำ
จดรายชื่อไว้ในกระเป๋าเงิน, จดไว้ในโทรศัพท์มือถือ ถ่ายรูปไว้ หรือที่ใดก็ได้ที่สามารถพกติดตัวได้ตลอดเวลา เผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินจะได้นำรายชื่อนี้ให้กับแพทย์ที่รักษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ทราบยาประจำตัวที่ใช้และสามารถจะดูแลให้เกิดความปลอดภัยได้อย่างทันท่วงที
ที่มาข้อมูล : นายแพทย์เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ