โรคที่มากับหน้าฝน
กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง
ในฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนี้ เป็นสาเหตุทำให้โรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โรคที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในฤดูนี้
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในฤดูฝน คือ
กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ที่สำคัญ 3
โรค
ได้แก่
1. ไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
ซึ่งกว่าร้อยละ80 เป็นยุงลายที่อยู่ในบ้านซึ่งจะวางไข่ในน้ำที่ขังอยู่ตามที่ต่าง
ๆ
ผู้ป่วยระยะแรกจะมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่วไป
ได้แก่ อาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว
อาจมีอาการปวดกระดูกมาก
ไข้จะสูงอยู่ประมาณ 2-7 วัน หลังจากนั้นไข้จะลง
พร้อมกับอาจจะมีอาการเลือดออกผิดปกติ
มือเท้าเย็น หรือช็อคได้
2.
ไข้สมองอักเสบเจอี(Japanese
Encephalitis)มียุงรำคาญเป็นพาหะนำโรค
มักแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนา
ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน
หลังจากนั้นจะมีอาการซึมลงหรือชักได้
ผู้ป่วยอาจเสียชีวิต
หรือพิการหากไม่ได้รับการรักษา
3.
โรคมาลาเรีย มียุงก้นปล่องที่อยู่ในป่าเป็นพาหะนำโรค
โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูงหนาวสั่น ซีดลง
เนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก
ถ้าเป็นชนิดรุนแรงอาจมีอาการไตวาย
ตับอักเสบ ปอดผิดปกติ
และอาจมีความผิดปกติทางสมองที่เรียกว่า
มาลาเรียขึ้นสมองได้
ข้อมูลจาก :
ผศ.นพ.เมธี ชยะกุลคีรี
ภาควิชาอายุรศาสตร์
สาขาโรคติดเชื้อฯ
Faculty of Medicine Siriraj
Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล