จากผลกระทบช่วงโควิด ทำให้มีขยะพลาสติกมากขึ้น เราจะสามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เพื่อลดการสร้างขยะอย่างไรบ้าง? หาคำตอบได้ที่นี่
1. ปรุงอาหารแค่พอกิน กินไม่ให้เหลือ : ขยะเศษอาหารเป็นขยะส่วนมาก ในครัวเรือนและร้านอาหาร จึงควรวางแผนการกินให้ดี ตักอาหารแต่พอกิน หรือห่อกลับ จัดการขยะให้เป็นศูนย์เริ่มที่เรา
2. วัตถุดิบอาหารเหลือพลิกแพลงเป็นเมนูอื่นได้ : ควรนำวัตถุดิบอาหารสดที่เหลือใช้ ไปปรุงอาหารเมนูสร้างสรรค์ใหม่ได้ในวันถัดไป อย่าทิ้งขว้าง
3. พกถุงผ้า ปฏิเสธถุงพลาสติก : เพียงปฏิเสธถุงพลาสติกทุกครั้งที่เข้าร้านสะดวกซื้อ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตก็ช่วยลดขยะได้แล้ว
4.พกแก้วน้ำ พกกล่องข้าว : ลองคิดดูว่าถ้าเราพกแก้วน้ำเข้าร้านเครื่องดื่ม เราจะลดขยะแก้ว พลาสติกได้เท่าไรต่อวัน ต่อสัปดาห์ต่อเดือน รวมถึงการพกกล่องข้าวไป ซื้ออาหารแทนการใส่กล่องโฟมด้วย
5.เลือกใช้ผลิตภัณฑ์รีฟิล : ถ้าเป็นไปได้ เช่น ผลิตภัณฑ์สบู่ อาบน้ำหรือน้ำยาถนอมผ้าที่มีถุงบรรจุไว้เติมลงขวดเก่าได้
6. เครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควรใช้อย่างคุ้มค่า : เพราะ เมื่อกลายเป็นขยะ ชิ้นส่วนที่นำไปรีไซเคิลใหม่ไม่ได้ก็จะกลายเป็นขยะอันตรายที่อาจถูกลักลอบเผาทำลาย หรือถูกทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป ทางที่ดี ให้ใช้จนคุ้มค่าที่สุด และเมื่อพังหรือซ่อมไม่ได้แล้ว ให้คัดแยกใส่ถุงมิดชิดแล้วทิ้งในถังขยะอันตรายหรือจุดรับทิ้งขยะอันตราย
7.ใช้ผ้าให้มาก ใช้ทิชชูให้น้อย : เพราะทิชชูที่ใช้เช็ดความสกปรกถือ เป็นขยะปนเปื้อน รึไซเคิลไม่ได้
8. ประยุกต์ขยะให้กลายเป็นของใช้ : เช่น ขวดแก้ว = แจกัน กล่องกระดาษ หรือกล่องคุกกี้ – เก็บสิ่งของ เสื้อผ้า = บริจาค ตัดเย็บแปลงโฉมเป็นตัวใหม่ หรือทำเป็นผ้าขี้ริ้ว
Contact the news at
Fanpage facebook : Center of Excellence in Elderly Care
Website : Suan Sunandha Rajabhat University.
: Center of Excellence in Elderly Care
: Center of Excellence in Elderly Care Services