เทคนิคการฝึกโยคะสำหรับผู้สูงอายุ
โยคะ คือ การรวมกายและจิตของผู้ฝึกเข้าไว้ด้วยกัน นั่นหมายถึง การมีสติรู้อยู่กับกายตลอดเวลา การฝึกโยคะ เป็นการฝึกให้ร่างกายและจิตใจทำงานอย่างเป็นระเบียบ และ เป็นกระบวนการที่มนุษย์เรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอย่างเป็นองค์รวม ให้มากที่สุด รวมไปถึงการทำความรู้จักตัวตนของตนเอง ช่วยลดหรือขจัดสภาวะต่าง ๆ ที่บั่นทอนความเป็นอยู่อย่าง องค์รวม โยคะให้ความสำคัญกับเทคนิคต่างๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ รู้จักมูลเหตุทุกชนิดที่ขาดสมดุลอันก่อให้เกิดความเจ็บป่วย และจัดปรับให้คืนสู่ความเป็นปกติโยคะได้รับการศึกษาในแง่ ของการบำบัดโรคมานานพอสมควร งานวิจัยส่วนใหญ่จะใช้ เทคนิคการฝึกอาสนะ (การฝึกท่าทางกาย) การหายใจ และ สมาธิร่วมกันในการบำบัดโรคโดยการเหยียดแล้วคลายสลับ กันไป
ข้อแนะนำในการฝึกโยคะ
1. การฝึกโยคะ ให้ฝึกในท่าที่สามารถทำได้ก่อน เมื่อได้แล้วจึงค่อยพยายามทำท่าอื่นต่อไปอีกโดยทำอย่างช้า ๆ และ ใช้แรงน้อย
2. การฝึกควรทำอย่างต่อเนื่องและทำอย่างสม่ำเสมอ จึงจะเกิดประโยชน์ยิ่งทำติดต่อกันเป็นเวลานานเท่าไรก็ยิ่งจะ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเองมากเท่านั้น
3. หากเกิดความรู้สึกเจ็บปวดที่ขาและแขน ให้ใช้น้ำอุ่นประคบหรือนวดเบา ๆ และพักผ่อน 1-2 นาทีแล้วทำต่อไปได้
4. หากรู้สึกว่าเหนื่อยให้ทำท่าพักผ่อน ในระหว่างการฝึกโยคะอย่างน้อย 1 นาทีหรือจนหายเหนื่อยแล้วค่อยฝึกต่อ ไม่ควรฝึกต่อเนื่องไปตลอด
5. การหายใจระหว่างการฝึกโยคะ ให้หายใจเข้าออก ให้ถูกต้องและช้า ๆ ทางรูจมูก ไม่หายใจทางปาก
6. หลังจากเลิกฝึกโยคะแล้วพักในท่าศพอย่างน้อย 10-15 นาที เพื่อเป็นการเก็บพลังที่ได้จากการฝึกโยคะ
7. การฝึกโยคะควรใช้ทั้งกล้ามเนื้ออวัยวะภายใน และ ประสาทสัมผัสควบคู่กันไป